โดยปกติแล้วหน้าที่ฮอร์โมนโพรเจสเทอโรน (progesterone) คือการทำให้เยื่อบุมดลูกพร้อมในการฝังตัวของไข่ที่ปฏิสนธิแล้ว หรือกล่าวคือเป็นฮอร์โมนที่ทำให้คุณแม่พร้อมต่อการมีลูกนั่นเองค่ะ
นอกจากนี้ฮอร์โมนโพรเจสเทอโรนยังทำหน้าที่ส่งเสริมการทำงานของฮอร์โมนอินซูลิน เพิ่มการสะสมไกลโคเจน (Glycogen คือน้ำตาลที่อยู่ในกล้ามเนื้อและตับ มีหน้าที่ให้พลังงานแค่ร่างกายเมื่อระดับน้ำตาลในเลือดลดลง) อีกทั้งยังทำให้อุณหภูมิของร่างกายสูงขึ้น อีกทั้งยังช่วยป้องกันไม่ให้มดลูกหดรัดตัวระหว่างการตั้งครรภ์ และหลังคลอดฮอร์โมนโพรเจสเทอโรนจะช่วยให้ร่างกายคุณแม่ผลิตน้ำนมอีกด้วยค่ะ
ฮอร์โมนโพรเจสเทอโรนต่ำ บอกอะไร
ถ้าฮอร์โมนโพรเจสเทอโรนมีปริมาณที่ต่ำ ก่อนที่คุณแม่จะตั้งครรภ์ จะทำให้คุณแม่ไม่สามารถตั้งครรภ์ได้ และถ้าคุณแม่มีปริมาณฮอร์โมนโพรเจสเทอโรนที่ต่ำ ระหว่างที่มีการตั้งครรภ์ นั่นก็แสดงว่าการตั้งครรภ์ในครั้งนี้อาจจะล้มเหลวได้ เป็นการแท้งโดยธรรมชาตินั่นเองค่ะ
ส่วนใหญ่แล้วจะแก้ไขได้โดยการรับประทานฮอร์โมนที่สั่งโดยคุณหมอ หรือสมุนไพรที่ช่วยเพิ่มระดับฮอร์โมนโพรเจสเทอโรน ทั้งนี้อาจจะเปลี่ยนเป็นการฉีดหรือเหน็บยาได้อีกด้วยค่ะ
โดยส่วนใหญ่แล้ววิธีที่จะทำให้รู้ว่าคุณแม่มีฮอร์โมนโพรเจสเทอโรนที่ต่ำลง สังเกตได้ง่ายๆ จากการที่อุณหภูมิร่างกายของคุณแม่ต่ำลง ง่ายๆ ก็คือตัวเย็นขึ้นนั่นเองค่ะ แต่ถ้าหากไม่มีแน่ใจว่าเป็นเพราะฮอร์โมนหรือไม่ อาจจะโทรสอบถามกับคุณหมอที่ฝากครรภ์ก่อนก็ได้ หรือจะไปตรวจที่โรงพยาบาลเพื่อความสบายใจก็ได้เช่นกันนะคะ
ที่มา Livestrong
บทความอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
5 เทคนิคดีๆ รับมือกับการแท้งลูก
3 ฮอร์โมนตอนตั้งครรภ์ที่แม่ท้องควรรู้